3055 จำนวนผู้เข้าชม |
กลยุทธ์ ฝ่าวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ 2564 ตอน 2
ภาครัฐฯปรับเป้าใหม่ จากการระบาดหนักระลอก 4 ของโควิด-19 เดิม 2.5-3+2-2.5 เป็น1.5-0% ด้านธุรกิจอสังหาฯเติบโตต่อเนื่อง แต่อยู่ระหว่างชะลอซื้อรอภาครัฐฯตัดวงจรโรคระบาดสำเร็จ
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับภัยร้ายแรงโรคระบาดโควิด-19 ร้ายแรงแพร่กระจายไปทั่วโลก ในครั้งนี้เราต้องใช้สังคมโซเชียลเน็ตเวิร์คพูดคุยกัน หรือทำงานร่วมกันในรูปแบบ Work Form Home
"คาดหวังว่ามันจะผ่านไปได้หากเรา "ช่วยกันต้องรอด" ภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายประการทั้งภาคธุรกิจและภาคประชาชน"
"จากวงเงินกู้ 500,000 ล้านบาทภาครัฐได้ออกมาตรการ เช่นแจกเงินเยียวยา สนับสนุนและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) ตลอดจนภาครัฐเน้นการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในโอกาสต่อไป"
แหล่งข่าวกระทรวงการคลังกล่าวว่า "แม้ว่าการตั้งเป้าGDPจะไม่เป็นไปตามเป้าจาก2.5-3+2-2.5% เมื่อโควิดปะทุระลอก4ขึ้นมา ดังนั้นจากที่กำลังเติบโตได้1.5%ขึ้นไป ปรับลงมาเป็น 0%ให้ถือว่าเป็นการชะลอตัวชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย เมื่อการฉีดวัคซีนครบได้ตามเป้าหมาย"
นายวรเดช รุกขพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทวีบียอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เปิดเผยกับ "นิตยสารเทรนด์ เรียลเอสเตท ออนไลน์" ว่าแม้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองกำลังผจญกับโรคระบาดระลอกใหม่ครั้งที่4แล้วก็ตาม
แต่ทุกสิ่งก็ต้องเดินหน้าต่อไปโดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย
"ผมเชื่อว่าวงจรโรคระบาดจะหยุดได้ด้วยภาครัฐสนับสนุนให้เกิดการฉีดวัคซีนเชิงรุกให้ได้ในราว 80%ของคนในประเทศ"
"เพื่อให้ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เดินหน้าต่อไป แม้ว่ากำลังซื้อภายในประเทศแผ่วลงไปมาก แต่เราก็รอกำลังซื้อของต่างชาติเพราะเม็ดเงินที่เป็นทุนของเขามีมากพอ และมีความพร้อมมากกว่าเรา ถึงได้มีการคาดหวังให้เขาเข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้มากขึ้น"
ดังนั้นภาครัฐควรตั้งเป้าหมายให้แน่นอนดังนี้
1.เช่นวางเป้าหมายเปิดประเทศให้แน่นอนในไตรมาสแรก หรือประมาณเดือน มีนาคมของปี'65
2.ฉีดวัคซีนให้ครบ80%ของคนในประเทศให้ได้ภายในสิ้นปีหนือต้นปีหน้า
3.แก้กฏหมายให้เสร็จเรียบร้อย และสามารถนำมาใช้ได้ทันการ เพื่อเปิดโอกาศให้ต่างชาติได้ซื้อครองอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยได้ สะดวกมากยิ่งขึ้น
เพื่อความคล่องตัวในแง่การลงทุนกับประเทศเรา โดยเฉพาะในส่วนของภาษีต่างๆ ที่ต้องปรับลดเพดานลง และอัตราส่วนการถือครองทรัพย์สินที่ต้องขยายฐานเพิ่มขึ้น
4.การแก้ไขปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและยืดหยุ่นเรื่องการออก "วีซ่า" แก้กฏระเบียบที่ "ยุ่งยากซับซ้อน" และเสียเวลาให้รวดเร็วมากขึ้น
5.ย้อนหลังนับ "Countdown" เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง กับการแก้ไขกฏหมาย และการวางนโยบายเพื่อดูดซับ "เม็ดเงิน" จากต่างชาติที่มีอยู่ราวๆ 800,000 ล้านบาท ให้เข้ามาหมุนเวียนในระบบทุนภายในประเทศเราให้เร็วยิ่งขึ้น
เพราะสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงความเติบโตของจีดีพีในบ้านเราได้อย่างแน่นอน
นางสาวเกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) กล่าวถึงผลกระทบสถาณการโควิด-19 นี้ว่า อสังหาริมทรัพย์แนวตั้ง โดยเฉพาะคอนโด ยอดขายลดฮวบ แต่ก็ยังมีกำลังซื้อของคนรุ่นใหม่ที่มีเงินเดือน 20,000-30,000 บาท รองรับอยู่
อย่างไรก็ตามเราต้องปรับตัวหนีตาย ด้วยการประเมินคร่าวๆว่า รสนิยมของผู้ซื้อปรับเปลี่ยนไปในแนวไหนและผลออกมาว่าพฤติกรรมของผู้บรืโภคชอบบ้านแนวราบ มากกว่าแนวตั้ง
ดังนั้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ต้องปรับตัวให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคด้วย รวมทั้งมาตรการวัคซีนที่ต้องเร่งเพื่อเพิ่มขีดความเชื่อมั่นให้กับประชาชนทุกภาคส่วน จะว่าไปวัคซีนก็คือความหวังของทุกคน
นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแอสเซทไวส์ จำกัด(มหาชน) (AWS:ชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์ฯ) กล่าวว่าในช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่เป็นอยู่นี้ ควรให้ผู้บริหารบริษัทเรียลเอสเตท ทั้งหมดตั้งใจทำสิ่งเหล่านี้
"ผู้บริหารองค์กรควรให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยทั้งบุคลากรในและนอกองค์กร มีความเป็น CSR เต็มตัวด้านการสร้างจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กร"
"สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ตอบโจทย์
ผู้ซื้อได้โดยไม่ต้องใช้งบโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้มากจนเกินไป แค่ปากต่อปากก็สามารถเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างดี"
ตัวอย่างกฏหมายที่ภาครัฐให้ความสำคัญและแก้ไขเพื่อช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ดึงเม็ดเงินจากต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศ เช่นแก้ไขกฏหมายการถือครองคอนโดฯจาก 49% เป็นสามารถถือครองได้ 70-80%
(ติดตามรายละเอียดการแก้ไขกฏหมายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนของต่างชาติในไทยเมื่อมีการประกาศเป็นทางการแล้วในเล่มต่อๆไป).
วลัย ชูธรรมธัช
Executive Editor
---------------------------------