บทวิเคราะห์ทำเลโซนบรมราชชนนี-ปิ่นเกล้า ที่อยู่อาศัยย่านบรมราชชนนี-ปิ่นเกล้า ทำไมจึงได้รับความนิยม

133 จำนวนผู้เข้าชม  | 

บทวิเคราะห์ทำเลโซนบรมราชชนนี-ปิ่นเกล้า ที่อยู่อาศัยย่านบรมราชชนนี-ปิ่นเกล้า ทำไมจึงได้รับความนิยม

บทวิเคราะห์ทำเลโซนบรมราชชนนี-ปิ่นเกล้า

ที่อยู่อาศัยย่านบรมราชชนนี-ปิ่นเกล้า ทำไมจึงได้รับความนิยม 

โดยเฉพาะเส้นถนนบรมราชชนนีฝั่งขาเข้า ที่อยู่ระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 2 และถนนพุทธมณฑลสาย สาย 3 เป็นทำเลอยู่อาศัยชั้นดีที่อยู่ใกล้เมืองของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก เนื่องจากกฎหมายผังเมืองกำหนดให้พื้นที่ในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่สีเขียวลาย ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมของเมือง การพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรในพื้นที่ดังกล่าวต้องมีที่ดินขนาด 100 ตารางวาขึ้นไป จึงเหมาะสำหรับการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยชั้นดีท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ดี และยังเป็นแหล่งที่มีความเจริญมากทั้งในด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม รวมถึงสาธารณูปโภคอีกด้วย

สะดวกเดินทาง เชื่อมต่อถนนสำคัญหลายสาย

ทำเลดังกล่าวสามารถเดินทางเข้า - ออกเมืองได้อย่างสะดวกสบายหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น ถนนบรมราชชนนี ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอก) ถนนราชพฤกษ์ ถนนพระเทพตัดใหม่ (พรานนก-พุทธมณฑล สาย 4) และทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ทางยกระดับลอยฟ้า ตรงเข้าเขตเมืองชั้นใน และยังมีรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เป็นทางเลือกในการเดินทางเข้าสู่เมืองได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในอนาคตจะมีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสถานีศาลาธรรมสพน์ สายสีแดงอ่อนจากตลิ่งชัน-ศาลายา 

ครบครันแหล่งช้อป ใกล้สถานพยาบาล และสถานศึกษาชั้นนำ

ขณะเดียวกัน พื้นที่โดยรอบยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ตลาดสดธนบุรี, ตลาดนัดสนามหลวง 2, เซ็นทรัล ศาลายา, โลตัส ศาลายา, เดอะพาซิโอ กาญจนาภิเษก, โรงพยาบาลธนบุรี 2, ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค, โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน, โรงเรียนเพลินพัฒนา, โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล, มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล, โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, สถานีตำรวจนครบาลตลิ่งชัน เป็นต้น

การพัฒนาพื้นที่ระดับเมือง 

   ตามร่างผังเมืองกรุงเทพมหานครที่จะประกาศใช้ในอนาคต พื้นที่บริเวณถนนบรมราชชนนีจะมีการพัฒนาศูนย์ชุมชนชานเมือง 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ชุมชนชานเมืองตลิ่งชัน และศาลายา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเชิงพาณิชย์ระดับชุมชนเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนทางรางในรูปแบบของ TOD (Transit Oriented Development) เพิ่มความหนาแน่น ความหลากหลายของกิจกรรมภายในพื้นที่ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง ทำให้พื้นที่โดยรอบมีศักยภาพในการพัฒนามากยิ่งขึ้นในอนาคต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้