825 จำนวนผู้เข้าชม |
ที่ผ่านมาหอการค้าไทย ชูแนวทาง Connect the Dots ดึงการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในการร่วมกันฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หอการค้าไทยได้เข้าไปมีบทบาทกับสังคมมากขึ้น ทำให้เราสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกขึ้นมาเป็นจำนวน 1.4 แสนรายในปัจจุบัน โดยภายหลังจากได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นสมัยที่ 2 จึงเร่งเดินหน้าสานต่อแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ 3 ด้าน ดังนี้ ที่ผ่านมาหอการค้าไทย ชูแนวทาง Connect the Dots ดึงการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในการร่วมกันฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หอการค้าไทยได้เข้าไปมีบทบาทกับสังคมมากขึ้น ทำให้เราสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกขึ้นมาเป็นจำนวน 1.4 แสนรายในปัจจุบัน โดยภายหลังจากได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นสมัยที่ 2 จึงเร่งเดินหน้าสานต่อแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ 3 ด้าน ดังนี้ 1) Connect – เชื่อมโยงความร่วมมือเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ หอการค้าไทย ตั้งเป้าหมายระดมสมาชิกเพิ่มจาก 1.4 แสนราย เป็น 2 แสนราย ภายในปี 2568 การดึง SME เข้าสู่ระบบจะช่วยให้สามารถสนับสนุนและพัฒนาในด้านต่าง ๆ ได้อย่างตรงต่อความต้องการ พร้อมทั้งระดมความเห็นของสมาชิกหอการค้าทั่วประเทศ เป็นแนวทางในการเดินหน้าเศรษฐกิจในภูมิภาคทั้งระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาค 2) Competitive – ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในทุกมิติ เร่งขยาย FTA กับต่างชาติให้มากขึ้น พร้อมเร่งดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ร่วมกับ BOI และ EEC โดย จัด Road Show แสดงศักยภาพของประเทศ และผลักดัน Ease of Investment โดยกำหนดประเทศยุทธศาสตร์เป้าหมาย ได้แก่ จีน ซาอุดีอาระเบีย เวียดนาม และอินเดีย รวมถึงรักษากลุ่มนักลงทุนเดิมอย่าง ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับ กพร. ปรับปรุง Ease of Doing Business จัดทำ “รางวัลสำเภานาวาทอง” มอบแก่หน่วยงานราชการที่ยกระดับและปรับปรุงขั้นตอนการติดต่อราชการให้รวดเร็ว พร้อมสนับสนุนให้เกิด e-Government อย่างเต็มรูปแบบ 3) Sustainable - สร้างอนาคตที่เต็มไปด้วยโอกาสเพื่อส่งต่อให้คนรุ่นใหม่ หอการค้าไทยและเครือข่ายทั่วประเทศ ขยายผล BCG Model เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประเทศ โดยใช้สถาบันวิทยาการเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค ที่จัดตั้งขึ้นร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นสถาบันทางวิชาการ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และร่วมกับหอการค้าทุกจังหวัด ขับเคลื่อน BCG ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าประเทศไทยเจอความท้าทายที่หลากหลายในปีที่ผ่านมา ทั้งเศรษฐกิจโลกผันผวน - เปลี่ยนผ่านรัฐบาลช้ากระทบต่องบประเทศ – วิกฤตหนี้ครัวเรือน – ดอกเบี้ยสูง - รวมถึงกำลังผลิตหดตัวต่อเนื่อง สำหรับปี 2567 นี้ หอการค้าฯ จึงพร้อมจะดำเนินการ 4 แผนเชิงรุก เสริมกับภาครัฐให้เกิดการลงมือทำร่วมกันเพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย ดังนี้ 1. การดูแลอัตราดอกเบี้ยและการสนับสนุนแหล่งเงินทุน หอการค้าฯ เสนอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาดูแลอัตราดอกเบี้ยที่สูงอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะช่วยลดภาระของประชาชนและลดต้นทุนผู้ประกอบการ รวมถึงเสนอให้มีมาตรการใหม่ ๆ ช่วยเหลือ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ยกตัวอย่าง ในระดับภูมิภาค สถาบันทางการเงินแต่ละสาขาไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ไม่รู้แนวทางที่ชัดเจน จึงไม่กล้าปล่อยสินเชื่อหรือปล่อยแบบดอกเบี้ยอัตราเสี่ยงสูง ส่วนนี้หอการค้าจังหวัดทั่วประเทศที่มีความใกล้ชิดกับผู้ประกอบการสามารถเข้าไปทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานงาน และคัดกรองผู้ประกอบการที่ยังมีศักยภาพให้กับสถาบันการเงินเพื่อเกิดความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อ 2. การสนับสนุนการท่องเที่ยวคุณภาพสูง ปี 2567 จะเป็นอีกปีที่ภาคการท่องเที่ยวเติบโตโดดเด่น โดยคาดการตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปีประมาณ 35 ล้านคน ทั้งนี้ ต้องขอบคุณรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว และหากสามารถจัดการเรื่องการเพิ่มเที่ยวบินและปรับราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สนับสนุนเงินทุนให้กับผู้ประกอบการในการพัฒนาคุณภาพ และเพิ่มกำลังการรองรับที่เพียงพอ นอกจากนั้น หอการค้าฯ ยังมุ่งขยายผลการท่องเที่ยวคุณภาพสูง (Happy Model) โปรโมทแหล่งท่องเที่ยวเมืองรองใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เสริมกับแผนงาน Soft Power ที่ทำร่วมกับภาครัฐ จะช่วยกระจายรายได้ให้กับผู้ประกอบการทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น 3. ยกระดับจังหวัดสู่เมืองหลักที่เข้มแข็ง หอการค้าฯ และรัฐบาลอยู่ระหว่างเตรียมการผลักดันโครงการพัฒนาเมืองรอง 10 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัด นครพนม ศรีสะเกษ แพร่ ลำปาง นครสวรรค์ กาญจนบุรี ราชบุรี จันทบุรี ตรัง และนครศรีธรรมราช ที่ถือเป็นบิ๊กโปรเจคที่หอการค้าฯ และรัฐบาลจะร่วมกันดันเศรษฐกิจในระดับจังหวัดให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งการท่องเที่ยว การลงทุน และระบบ Infrastructure โดยภาคเอกชนพร้อมที่จะเริ่มกระตุ้นการลงทุนในท้องถิ่นอย่างจริงจัง ซึ่งจะเป็นโมเดลขยายผลกับจังหวัดอื่น ๆ ในระยะต่อไป 4. การส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เร่งเดินหน้าเจรจา FTA เพื่อขยายตลาดการค้า การลงทุน ที่มีศักยภาพและมีโอกาสเติบโตสูง เช่น ซาอุดิอาระเบีย เวียดนาม และอินเดีย ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบาย FDI อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่ม Tech company เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนใหม่ ๆ เข้าประเทศ โดยหอการค้าไทยและเครือข่ายภาคเอกชนพร้อมร่วมมือกับภาครัฐเดินหน้าขยายตลาดการค้า ยกตัวอย่าง เช่น การจัดงานแสดงสินค้า ThaiFEX ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ที่ถือเป็นงานแสดงสินค้าด้านอาหาร ระดับ Top ของโลก
นอกจากนี้ หอการค้าฯ ยังมองว่าประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับ 4 การเปลี่ยนแปลงสำคัญ ที่ภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นต้องเตรียมพร้อมในการรับมือ ช่วยกันแก้ไขปัญหา และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ได้แก่ 1. Geopolitical Change ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายภูมิภาค การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ความกังวลและความคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ รวมถึงผลการเลือกตั้งผู้นำของสหรัฐและหลายประเทศในปีนี้ จะมีส่วนทำให้เกิดความผันผวนของนโยบายเศรษฐกิจโลกและกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยตรง ที่ผ่านมาต้องขอบคุณภาครัฐที่ทำให้ประเทศไทยสามารถวางตัวเป็นกลาง รวมถึงที่เห็นชัดคือท่านนายกฯ เป็น Good Salesman ขยันขันแข็งลงพื้นที่เจรจากับประเทศต่างๆ เพื่อสร้างโอกาสให้ประเทศไทย ตลอดจนมีมาตรการส่งเสริมและสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ในส่วนนี้ภาคเอกชนพร้อมสนับสนุนรัฐบาลเป็น Team Thailand Plus ในการปลดล็อคส่งเสริมภาคการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่น สร้างโอกาสในการเติบโตของเศรษฐกิจไทย 2. Technology Change ปัจจุบัน AI Technology เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศทุกมิติ ไทยจึงจำเป็นต้องให้ความจริงจังกับเรื่อง Digital Transformation โดยนำ Digital Technology มาใช้ก้าวข้ามการทำงานรูปแบบเดิมๆ ที่มีขั้นตอนเยอะ ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น การที่รัฐบาลประกาศว่าประเทศไทยจะเป็น Digital Economy Hub ภาคเอกชนมองว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ยังต้องเสริมเรื่องการยกระดับ Innovation และ Digital ซึ่งเป็นสิ่งประเทศไทยยังขาดอยู่ จึงเสนอให้ภาครัฐยกระดับมาตรการ Talent immigration policy เพื่อดึงดูดคนต่างชาติที่เก่งเข้ามาทำงานและอยู่อาศัยในประเทศไทยจะช่วยให้เกิดการสร้างงาน รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและทักษะสมัยใหม่ โดยรัฐบาลควรมีมาตรการ Incentive ที่เหมาะสมเช่น การอำนวยความสะดวกเรื่อง Visa และ Work permit มาตรการทางภาษี มาตรการพำนักอยู่อาศัยที่เหมาะสม เป็นต้น นอกจากนี้เรื่อง e-Government หอการค้าฯ ยังได้ร่วมกับ สำนักงาน ก.พ.ร. และ กระทรวงพาณิชย์ ยกระดับ Ease of Doing Business ทั้งการปรับปรุงกฎระเบียบ การลดขั้นตอนการติดต่อ การขอและการเซ็นเอกสารจำนวนมากให้แล้วเสร็จภายในปีนี้เพื่อช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ 3. Population Change ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาโครงสร้างประชากรจากแนวโน้มจำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนแรงงานภายในประเทศในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น รัฐบาลควรมีนโยบายเพิ่มจำนวนประชากรและพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก และสร้างคนไทยให้กลายเป็น Global Citizen ที่มีคุณภาพ ผ่านการยกระดับ Upskill Reskill อย่างต่อเนื่อง ส่วนนี้ต้องอาศัยการทำงานที่สอดประสานกันระหว่างภาครัฐ โดยที่ผ่านมาหอการค้าฯ ร่วมมือกับ Harbour Space ซึ่งเป็น Startup University แบบใหม่ เข้ามาช่วยยกระดับทักษะใหม่ๆ ขับเคลื่อนการศึกษาที่ตอบโจทย์โลกอนาคต โดยนำคนเก่งจากทั่วโลกมาสอนนักศึกษาในประเทศไทย สร้าง Young Talent ด้าน IT เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ในเวทีโลก นอกจากนั้น หอการค้าไทยยังส่งเสริมและเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแต่ละจังหวัด โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ YEC ของหอการค้าไทย ได้มีส่วนร่วมไป Connect เครือข่ายกับกลุ่ม Young ในภูมิภาคมากขึ้น พร้อมกันนั้น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังได้เปิดตัวสู่การเป็น AI University นำการเรียนการสอนแบบใหม่มาใช้ในการเรียนการสอน โดยใช้ AI เข้ามาเป็นผู้ช่วยในการทำงาน รวมถึงการพัฒนาทักษาะภาษาผ่าน App Duolingo เป็นต้น 4. Climate Change ปัญหาเรื่องสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบทางตรงต่อประเทศไทย โดยเฉพาะสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการคือการบริหารจัดการน้ำและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันอย่างเป็นระบบ ปีนี้ต้องยอมรับว่ายังมีความกังวลต่อปัญหาภัยแล้งที่จะส่งผลต่อผลผลิตภาคเกษตรจากสภาวะเอลนีโญ (El Niño) รวมถึงปัญหา PM 2.5 ที่อาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นโจทย์สำคัญที่รัฐบาลจะต้องเตรียมแผนระยะสั้นเพื่อรับมือ และวางมาตรการระยะยาวเพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบวงกว้างในภาคการเกษตร ภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เป็นกำลังสำคัญของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ทั้งนี้ ภาคเอกชนเห็นว่ารัฐบาลเคยมีแผนบริหารจัดการน้ำเดิมอยู่แล้ว หากสามารถนำมาปรับปรุงและเชื่อมโยงโครงข่ายการจัดการน้ำทั่วประเทศ จะช่วยทำให้ภาคเกษตรมีความั่นคง ขณะเดียวกันภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ หอการค้าฯ มีแผนนำคณะเดินทางไปเจรจาและหารือกับหน่วยงานรัฐและเอกชนประเทศเนเธอร์แลนด์ หนึ่งในประเทศผู้นำด้านการส่งออกผลผลิตภาคการเกษตรลำดับต้น ๆ ของโลก ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มผลผลิต พัฒนาการแปรรูป นำไปสู่การยกระดับรายได้และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกรไทย พร้อมกันนั้น การที่รัฐบาลประกาศแนวทางเรื่อง Net Zero Carbon ภาคเอกชนก็พร้อมที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการปรับตัวเข้าสู่การค้ารูปแบบใหม่ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ผ่านมาตรการสิ่งจูงใจสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรแก่ธรรมชาติ (Nature Positive Economy)