กลยุทธ์แนวทางสร้างเครือข่ายและพันธมิตรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน

3303 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กลยุทธ์แนวทางสร้างเครือข่ายและพันธมิตรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน

สถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
 
 
           Futuristic city คำนี้น่าจะสะท้อนให้เห็นภาพได้ชัดเจนถึงการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ซึ่งมีมุมมองอยู่ 2 ด้านด้วยกันคือ
 

1. มุมมองของตลาดในประเทศ (คนไทย)
2. มุมมองจากนานาชาติ (ชาวต่างชาติ)


           ซึ่งทั้ง  2  มุมมอง ที่มีความขัดแย้งกันทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ทางสังคม ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในหลายประเทศที่กำลังพัฒนา   เช่น ประเทศไทย  โดยคนไทยที่อาจมองว่า อสังหาริมทรพย์กำลังล้นตลาด ราคาสูงขึ้นเกินจริง จับต้องไม่ได้ และ การถือครองส่วนใหญ่จะต้องเป็นการซื้อขายมอบกรรมสิทธิ์ รวมถึงอาจเกิดความซับซ้อนกันทางด้านกฎหมายภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้างที่ เป็นปัจจัยส่งผลกระทบกับการถือครองอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ได้

 

         ส่วนที่เป็นมุมมองของชาวต่างชาติที่มีต่ออสังหาริมทรัพย์ไทยนั้น  ต่างกับมุมมองของคนไทยมาก  ที่มองว่าอสังหาริมทรัพย์ของไทยนั้นมีความน่าสนใจ น่าลงทุน น่าอยู่อาศัย เช่น ราคาถูก ทำเลที่ตั้ง  การคมนาคมสะดวก  ทรัพยากรธรรมชาติสวยงาม  รวมถึงวัฒนธรรม ผู้คน อาหาร และ วิถีชีวิต ที่เป็นแบบไทย ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มีความน่าสนใจอยู่มาก

 

         แต่แน่นอนว่าด้วยสถานการณ์ Covid-19 ที่กำลังระบาดอยู่นั้น  ได้ส่งผลกระทบกับธุรกิจอย่างมาก รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยเช่นกัน ซึ่งสถานการณ์นี้จะเป็นแบบทดสอบความสามารถ และคุณธรรมในธุรกิจอย่างดี ซึ่งจะเห็นได้ว่า จะมีผู้รอดพ้นจากช่วงลำบากนี้ไปได้นั้น เป็นรายใดบ้าง และที่ผ่านมามีการดำเนินธุรกิจในลักษณะใด?


 
ว่าด้วยความยั่งยืน



        เป็นเรื่องที่ถือว่ายากที่สุดกับการดำเนินธุรกิจ  เพื่อให้ข้ามผ่านช่วงเวลาวิกฤตนี้ไปได้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนตลอดไปนั้น  ซึ่งหัวใจสำคัญของธุรกิจในยุคนี้นั้นอยู่ที่การรักษาไว้ซึ่ง คุณธรรม และ คุณภาพ ของแต่ละองค์กร เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคมและประเทศชาติ ตลอดจนเรียกได้ว่าเพื่อให้เกิดความ "ยั่งยืน"

 

       ซึ่งในระดับสากลโดยองค์กรสหประชาชาติได้จัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs : Sustainable Development Goals ซึ่งเป็นหลักปฎิบัติ และ เป้าหมายที่ครอบคลุมทุกกลุ่มองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางธุรกิจ หรือ หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งในประเทศไทยเราได้ประกาศ BCG Bio-Circular-Green Economy โมเดลเศรษฐกิจใหม่ให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างคุณค่านวัตกรรม เพื่อตอบรับนโยบายความยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และ สังคม

 

           โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้นถือได้ว่า เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการในการนำไปสู่การสร้างภาวะสมดุลใหักับโลกได้ ด้วยการลดละ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยพื้นฐานของชีวิตมนุษย์  และถึงแม้ว่าในบางส่วนของอสังหาริมทรัพย์จะไม่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจก็ตาม เช่น การติดตั้งเครื่องบำบัดน้ำเสีย ซึ่งไม่ได้ส่งผลกำไรอะไรให้แก่พวกเขา  แต่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของสังคม เป็นต้น

 

          ดังนั้นอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในภาคธุรกิจ ซึ่งถือเป็นต้นทุนและเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสร้างคุณค่าในชีวิตของมนุษย์  (Human capital) และส่งเสริมสถาบันครอบครัว เชื่อมโยงไปถึงสังคม และด้วยธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม เราคือสิ่งมีชีวิตที่มีวิถีการดำรงชีพด้วยการอยู่กันเป็นชุมชน เป็นสังคม และ พัฒนาจนเป็นเมือง (World Urbanization Prospects ) ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นสำคัญ

 

          ประเทศไทยจัดเป็นกลุ่ม (Lower Middle Income Country) เป็นประเทศที่มีระดับการเติบโตด้านความเป็นเมืองที่สูงที่สุด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแห่งความเป็นเมืองนั้นก็ถือเป็นดาบ 2 คม ด้านดี คือ ผู้คนจะเข้าถึงคุณภาพชีวิต และ บริการต่างๆ ที่สะดวกขึ้น ด้านเสีย คือ มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มีการสร้างมลพิษ มีการบุกรุกพื้นที่ทางธรรมชาติ ซึ่งเราเองในฐานะนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็ควรเข้าใจ และนำหลักการสร้างความสมดุล มาใช้กับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Creative Economy และ ด้วยหลักคิดนี้ก็จะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

 
 
กลยุทธ์แนวทางสร้างเครือข่ายและพันธมิตรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน
 
อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นธุรกิจที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยผู้คนหลากสาขาวีชาชีพจำนวนมาก รวมถึงความร่วมมืออย่างหลากหลายกว่าจะพัฒนาขึ้นมาเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ แต่ละแห่งขึ้นมาได้ ดังนั้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจึงถือได้ว่าเป็นจุดตัดที่สามารถบ่งชี้ถึงความสำเร็จของแต่ละองค์กร ซึ่งหากองค์กรใดมีแนวทางกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการร่วมมือ และ รักษาพันธมิตรได้ดีเท่าไรก็จะถือเป็นแต้มต่อ (Competitive advantage) ที่เหนือกว่า และ ในปัจจุบันการสร้างเครือข่ายความร่วมมือนั้นมิใช่เพียงแค่การจับมือกันระหว่างองค์กรภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังพัฒนาไปถึงในองค์กรข้ามชาติ (Global and Unique Partners) ในการส่งเสริม พัฒนา แบ่งปัน ความรู้ เทคโนโลยี และ ความชำนาญเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ที่ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การ create demand โดยไม่ได้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบ และ มุมมองทางธุรกิจแบบดั้งเดิม การสร้างสรรค์รูปแบบทางธุรกิจเพื่อตอบสนองพฤติกรรมศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงด้วยความถี่ที่รวดเร็วมากขึ้น รวมถึงการมองการถือครองกรรมสิทธ์ หรือ ใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ด้วยแรงขับเคลื่อนทางด้าน  industrial technology & Digital Transformation ทำให้ความร่วมมือกันในระดับ Global Economy เป็นไปได้อย่างง่ายดาย และ เชื่อมโยงกันแบบ Real Time รวมไปถึงนวัตกรรมทางด้านการลงทุน Fin TecH จะเข้ามามีผลอย่างรุนแรง อนาคตอันใกล้การถือครองกรรมสิทธิ์ การซื้อขายจะมีกลไก Block chain จะช่วยให้การซื้อ การถือครอง หรือ สิทธิในการใช้ประโยชน์อสังหาฯ สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย และ สามารถปรับคุณลักษณะการใช้ประโยชน์อย่างไร้ข้อจำกัดเดิมๆ คอนโด โรงแรม อพาร์ทเม้นต์ หอพัก สำนักงานทุกอย่างจะ Transform เข้าหากัน (ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดทางกฎหมาย ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ กฎหมายฉบับดั้งเดิมที่เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะต้องถูก Regulatory Guillotine ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในการตอบสนองพฤติกรรมศาสตร์ที่สอดคล้องในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไป และ ด้วยในขณะที่ฝั่งผู้ประกอบการที่เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้น ทางด้านผู้ซื้อหรือ ลูกค้าของเราเองก็ได้พัฒนาพันธมิตรในกลุ่มของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน ซึ่งการ Synergy & Sustainability สิ่งที่เป็นหัวใจของกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือ จนสามารถเป็นพันธมิตรทางธุรกิจได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักการที่เป็นเป้าหมายเดียวกัน (Goal Synergy) หรือ อย่างน้อยก็ไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างชัดเจน เพราะโลกแห่งธุรกิจได้พัฒนามจนถึงจุดที่เข้าสู่โหมด Sharing Economy การสร้างห่วงโซ่คุณค่า Value Chain ที่สามารถสร้างคุณค่าที่แท้จริงได้มากกว่าเพียงแค่การสร้างผลกำไรในธุรกิจ เพราะคุณค่าที่แท้จริงคือการส่งต่ออุดมการณ์ทางธุรกิจที่จะสร้างสรรค์อสังหาริมทรัพย์ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ยากลำบากจากการแพร่ระบาดของ Covid-19นั้นยิ่งเป็นจุดกดดันสำคัญที่จะ ผลักดันให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ใช้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างเข้มข้น จริงจังมากขึ้น Critical thinking ที่จะพัฒนาในสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ดีขึ้น แต่ราคาถูกลง ซึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมต่อการสร้างเครือข่าย และ พันธมิตรนั้น ก็คือเรื่องของ Code of Conduct การมีจรรยาบรรณในธุรกิจที่ดีงาม และ สิ่งนี้จะเป็นพลังพิเศษที่มีอำนาจในแรงดึงดูดอย่างมหาศาลที่จะทำให้เกิดความร่วมมือกันทั้งในระยะใกล้คือผู้ประกอบการในไทยเอง ไปจนถึงอีกซีกโลกฝั่งตะวันตกก็จะถูกดึงดูดมาเป็นมหาพันธมิตรร่วมกับเราอย่างแน่นอน
 


Turning Point


เราต้องยอมรับ และ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ปกติ การออกแบบการบริหารจัดการจำเป็นจะต้องมี Crisis Management และ การปรับตัว ผนวกกับการ Focus อย่างแท้จริงด้วยการตั้งคำถามที่สำคัญๆ ว่าเราจะพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้เกิดคุณค่าอย่างแท้จริงด้วยหลักการ ทฤษฎี และ ปรัชญาทางธุรกิจอย่างไร เราจะพุ่งเป้าไปสู่ผู้คนอย่างไรบ้าง เพื่อเยาวชน เพื่อผู้สูงวัย เพื่อสิ่งแวดล้อมให้ได้อยู่คู่กับเราไปตราบนาน รวมไปถึง Governance และท้ายที่สุดแล้วกลยุทธ์ที่เหนือสุดของที่สุดนั่นก็คือ การรู้ใจเขา และ นำมาใส่ใจเรา การใช้ Social listening ที่ฟังเสียงหัวใจของ Eco Systems สิ่งเดียวที่จะแลกใจคนได้ คือ “ใจ” สิ่งนี้คือ กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายและพันธมิตรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน “ ใจ แลก ด้วย ใจ “

 

ดร.อภิชาติ  ประสิทธิ์นฤทธิ์

นายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้